โดรน(Drone)


       เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากในปัจจุบัน หลายๆท่านอาจจะเคยเห็นและสงสัยกันมาบ้างแล้วว่าสิ่งที่กำลังลอยอยู่บนท้องฟ้านั่นคืออะไร สิ่งนั่นก็คือ โดรน (Drone) หรือที่เรียกกันยาวๆว่า อากาศยานไร้คนขับ ในบทนี้นั้นผมจะพามารู้จักโดรนกันแบบเจาะลึกกันเลย 




       โดรน นั้นมีอีกชื่อนึงว่า UAV (Unmanned Aerial Vehicle) ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วโดรนไม่ได้ใช้ในการบันเทิงเหมือนในปัจจุบันนะครับ แต่จะใช้ในการทหาร ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้โดรนในการสอดแนมพื้นที่แวดล้อมของข้าศึก หรืออาจจะโหดกว่านั้นก็ติดอาวุธเข้าไปถล่มศัตรูจากระยะไกลซะเลย ซึ่งก็มีข้อดีก็คือไม่ต้องใช้คนจริงเข้าไปในพื้นที่ซึ่งเสี่ยงอันตรายนั่นเอง
         ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 จนมาถึงปัจจุบัน เทคโนโลยีของโดรนได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนไม่ได้จำกัดแค่ในทางทหารเท่านั้น ในปัจจุบันโดรนถูกใช้ในหลากหลายรูปแบบ เช่น ใช้โดรนถ่ายรูป/ถ่ายวิดีโอจากมุมสูง ใช้ในการเกษตร หรือแม้กระทั่งใช้การขนส่งสินค้าที่ทาง google และ amazon กำลังพัฒนาให้สามารถส่งสินค้าไปยังบ้านคนซื้อได้ภายในรัศมีทำการ                                                        สำหรับในปัจจุบันนั้น โดรนที่นิยมใช้กันในรูปแบบต่างๆนั้นก็คือ มัลติโรเตอร์ หรือ มัลติคอปเตอร์   ที่เรียกอย่างนี้เพราะเป็นโดรนแบบใบพัด แต่ละใบพัดก็มีมอเตอร์ของตัวเอง รูปร่างก็จะคล้ายๆเฮลิคอปเตอร์แต่จะอาศัยใบพัดเยอะกว่า ที่นิยมกันก็จะเป็นแบบ 4 ใบพัด และ 6 ใบพัด ซึ่งมัลติคอปเตอร์นั้นก็มีข้อดีตรงสามารถขึ้น – ลง ในแนวตั้งได้ ซึ่งเจ้าตัวมัลติโรเตอร์นี่เองที่เป็นพระเอกที่คนนำไปดัดแปลงในรูปแบบต่างๆเพื่อนำไปใช้งานตามที่ตัวเองต้องการ
โดรนแบบ 4 ใบพัด


โดรนแบบ 6 ใบพัด





ประเภทของโดรนสำหรับการใช้งานต่างๆ

       ไม่ว่าจะใช้สำหรับแข่งขัน สำหรับบันทึกวีดิโอ และเก็บภาพต่างๆ หรือแค่หาอะไรทำสนุกๆ ไว้เล่นในอากาศ โดรนก็เป็นอุปกรณ์ทางอากาศที่มีเอกลักษณ์ในแบบฉบับของตัวเองที่ควรค่าแก่การเป็นเจ้าของ โดรนแต่ละประเภทได้ถูกออกแบบมาเพื่อกิจกรรมแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งนำไปสู่ดีไซน์ในตัวบอดี้ของโดรน และคุณสมบัติพิเศษทางเทคนิคต่างๆ

1. Quadcopter
Quadcopter ใช้ใบพัด 4 ใบซึ่งถูกจัดวางในรูปแบบสี่เหลี่ยม และใบพัดนั้นจะถูกวางอยู่บนแต่ละมุมของตัวบอดี้และการที่มีใบพัดทั้ง 4 ใบแต่ละมุมของโดรนนั้น ทำให้มีแรงซัพพอร์ตโดรนในการออกตัวจากพื้น และการเลี้ยวไปมาในทิศทางต่างๆ บางรุ่นอาจจะมีกล้องในตัวโดรนด้วย แต่ในทุกๆ รุ่นก็มักจะมีพื้นที่ให้คุณติดตั้งกล้อง HD ตัวเล็กๆ ได้อยู่ดี

2. GPS Drone
คุณจะสัมผัสความคุ้มค่าจาก GPS Drone ได้จากสถานการณ์ที่คุณควบคุมไม่ได้ หรือเมื่อตอนที่แบตของโดรนเริ่มหมด มันจะช่วยให้คุณตามหาโดรนของคุณได้ง่ายขึ้น แม้ว่ามันต้องอาศัยท้องฟ้าโปร่งๆ โล่งๆหน่อย เพื่อหาพิกัด GPS ของโดรนจากดาวเทียมในการค้นหาโดรนของคุณก็ตาม

3. RTF Drone( Ready to Fly Drone )
คุณสามารถนำโดรนประเภทนี้มาใช้งานได้ทันที หลังจากที่คุณซื้อมา แค่หยิบมันออกมาจากกล่อง และชาร์ตแบตให้เต็ม ก็พร้อมใช้งานแล้ว โดยปกติโดรนประเภทนี้ เหมาะสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเข้ามาเล่นโดรน และยังเสมือนเป็น quadcopter ขนาดเล็กด้วย

4. Trick Drone
Trick Drone ถูกออกแบบมาสำหรับการทำท่าหมุนคว้างในอากาศ ( barrel rolls ) ตีลังกา และทำทริคง่ายๆ ทั้งหลาย โดรนขนาดเล็กแบบนี้ ปกติจะมีน้ำหนักแค่ไม่กี่กรัม และมีความกว้างไม่เกินไม้บรรทัด บางรุ่นจะมีกล้องติดมาภายในอยู่แล้ว ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นกล้องที่เล็กมากๆ และไม่สามารถบันทึกภาพคุณภาพ HD ได้ โดรนประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับมือใหม่หัดขับโดรนอย่างมาก

5. Helicopter Drone
Helicopter Drone ใช้ใบพัดแค่อันเดียว และเหมาะมากเมื่อคุณต้องการให้โดรนบินอยู่ในอากาศในระยะเวลาที่นานขึ้น อย่างไรก็ตาม มันบินตรงดิ่งไปที่ทิศทางเดียว ดังนั้นคุณต้องคอยติดตามว่ามันกำลังมุ่งหน้าไปทิศทางไหน

6. Delivery Drone
Delivery Drone ถูกออกแบบมาเพื่อขนส่งสิ่งของ มันจะถูกใช้งานร่วมกับตัวสมอเทียบท่า หรือส่วนที่มีคุณสมบัติคล้ายกับตะกร้าตรงด้านล่างของโดรนที่จะเชื่อมต่อกับตัวบอดี้ของโดรนในการขนส่งสิ่งของทุกชนิด

7. โดรนสำหรับถ่ายภาพนิ่ง
โดรนถ่ายภาพนิ่งมักได้รับการออกแบบด้วยกล้อง HD ที่มาพร้อมกับการ์ดป้องกันรอบเลนส์การ์ดป้องกันจะช่วยไม่ให้เลนส์เสี่ยงต่อความเสียหายจากสภาพอากาศในพื้นที่หรือเศษฝุ่นที่อยู่ในอากาศ ตัวควบคุมที่ใช้สำหรับโดรนประเภทดังกล่าวมักจะมาพร้อมกับปุ่ม โดยปุ่มนี้สามารถกดเพื่อให้กล้องถ่ายรูป ซึ่งไม่ใช่ตัวควบคุมทั้งหใดจะสามารถแสดงภาพแบบเรียลไทม์ของภาพที่ถ่ายได้ แต่ก็บางครั้งที่คุณสามารถเชื่อมต่อสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกับโดรนผ่านการเชื่อมต่อ Wi-Fi เพื่อสามารถดูสิ่งที่อยู่ในกล้องได้อย่างรวดเร็ว

8. โดรนสำหรับแข่ง
โดรนแข่งได้รับการออกแบบให้ใช้เพื่อการแข่งขันและสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วประมาณ 40 ถึง 60 ไมล์ต่อชั่วโมงในบางกรณีที่ดีที่สุด พวกเขาสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วด้วยตัวควบคุมที่ต้องมีการเชื่อมต่อวิทยุที่ไม่ซ้ำกันเป็นของตัวเอง ที่สามารถใช้งานร่วมกับความถี่ที่หลากหลายเพื่อให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อระหว่างโดรนกับตัวควบคุมจะไม่มีการรบกวนจากสัญญาณอื่น ๆ โดรนเหล่านี้สามารถออกแบบให้มีโครงสร้างที่บางและไม่ได้รับผลกระทบจากลม อย่างไรก็ตามโดรนประเภทนี้อาจต้องการเครื่องยนต์ที่แรงกว่าเครื่องยนต์ไฟฟ้าแบบดั้งเดิมค่อนข้างมาก

9. โดรนขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน
โดรนที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันจะใช้น้ำมันแทนการใช้แบตเตอรี่ไฟฟ้า ซึ่งโดรนประเภทนี้สามารถทำงานได้นานขึ้นก่อนที่จะต้องชาร์จไฟใหม่อีกครั้ง นอกจากนี้โดรนประเภทนี้สามารถทำงานในความสูงมากขึ้นเนื่องจากเครื่องเหล่านี้มักจะมีกำลังมากกว่ารุ่นอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม โดรนดังกล่าวอาจหนักและมีความซับซ้อนมากขึ้น คุณอาจต้องตรวจสอบน้ำมันในโดรนอยู่ตลอดเพื่อให้แน่ใจว่าโดรนนั้นทำงานและเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการตกในขณะที่บิน

10. โดรนขับเคลื่อนด้วยน้ำมันไนโตร
โดรนที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันไนโตรจะคล้ายคลึงกับโดรนที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน เนื่องจากต้องใช้น้ำมันไนโตรเพื่อให้สามารถทำงานได้ น้ำมันไนโตรผสมไนโตรมีเทนกับเมทานอลเพื่อสร้างกำลังขับเคลื่อนที่มากขึ้นสำหรับอุปกรณ์ ช่วยให้สามารถเผาไหม้ได้ดีขึ้น ส่วนที่สำคัญที่สุดคือนำออกซิเจนเข้าสู่กระบวนการเผาไหม้ ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างราบรื่น โดรนที่ขับเคลื่อนด้วยไนโตรจะมีน้ำหนักเบากว่า อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจเป็นปัญหาในการหาแหล่งเชื้อเพลิงไนโตรเจน

11. โดรนแบบบินได้นาน
โดรนแบบบินได้นานนั้นจะมีขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อบินให้นานที่สุด โดรนชนิดนี้สามารถบินสูงได้หลายพันฟุตและสามารถทำงานได้หลายชั่วโมงต่อครั้งและมักจะใช้สำหรับการเฝ้าระวังและความต้องการทางทหาร โดรนเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้โดยรัฐบาลและทหารเพราะใช้สำหรับการใช้งานเกินกว่าเกณฑ์ความสูง 400 ฟุต ซึ่งผู้ดำเนินการต้องได้รับใบอนุญาตเพื่อใช้งานโดรนชนิดนี้

         พวกโดรนเหล่านี้กำลังถูกพัฒนาโดยบริษัท Amazon เจ้าอุปกรณ์ชิ้นนี้สามารถนำไปใช้ทางการทหารได้เช่นกัน  รวมไปถึงการส่งของให้ทหารในสนามรบด้วย และอาจใช้งานได้ดีในพื้นที่ที่มีเทือกเขาเยอะๆ ด้วยขนาดโดรนที่เล็กกว่ามนุษย์ทำให้มันง่ายกว่าที่จะใช้โดรนเข้าไปในพื้นที่บริเวณนี้










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้