ประวัติของโดรน(Drone)
Drone คืออะไรกันแน่ บางคนบอกคุณว่าโดรนคืออุปกรณ์ตรวจตราเพื่อคอยดูแลคนในชาติ บางคนอาจจะบอกว่ามันเป็นอุปกรณ์ส่งของ หรือบางคนอาจจะบอกว่าโดรนเป็นอาวุธที่บินอยู่บนฟ้า กองทัพสหรัฐมีโดรนอยู่ในครอบครองหลายงานการบินสหรัฐคาดว่าจะมีโดรนเชิงพานิชย์กว่า 7500 ตัวภายในสหรัฐเพียงประเทศเดียว
สิบกว่าปีที่ผ่านมา โดรน กลายเป็นอาวุธที่ใช้โจมตีทางอากาศเพื่อกำจัดกลุ่มผู้ก่อการร้ายข้ามชาติซึ่งได้รับการควบคุมจาก โปรแกรมเพื่อสังหารบุคคลอันตรายของ Central Intelligence Agencyหรือ CIA มีรายงานจาก Bureau of Investigative Journalism สำนักข่าวสืบสวนสอบสวนว่า ในช่วงระหว่างปี 2004 ถึงปี 2014 CIA ใช้โดรนกว่า 400 ตัวในการโจมตีในประเทศปากีสถาน สังหารคนไปมากกว่า 3000 คน และนั่นเป็นเพียงจำนวนที่เรารู้เท่านั้น
โดรนเป็นพาหนะทางอากาศที่ไม่ต้องมีคนควบคุมซึ่งทำงานผ่านอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ ลองคิดถึงพาหนะพื้นฐานที่ใช้รีโมตควบคุม แต่มันมีระยะไกลกว่านั้นมาก จุดกำเนิดที่แท้จริงของโดรนนั้นยากที่จะหาเจอ แม้ว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เราจะพบกับการใช้เครื่องบินทางการทหารเป็นครั้งแรก แต่มันก็มีการใช้บอลลูนและว่าวมาก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพสหรัฐมีโครงการที่เรียกว่า Aerial Torpedoes ซึ่งเป็นการใช้เครื่องบินขนาดเล็กซึ่งทำงานเหมือนโดรนคามิคาเซ่ แต่สงครามก็จบลงก่อนที่จะได้ใช้งาน
ในปี 1914 ช่วงต้นเดือนที่มีการรบกันของกองทัพอังกฤษในฝรั่งเศส กองทัพอังกฤษได้ใช้เครื่องบินถ่ายภาพทางอากาศกว่า 1500 ภาพเพื่อเป็นแผนที่ทางอากาศซึ่งแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการขนส่งของกองทัพเยอรมัน สิ่งนี้เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการใช้ภาพถ่ายเพื่อการปฏิบัติการที่ซับซ้อน เป็นครั้งแรกที่ปืนใหญ่ภาคพื้นดินสามารถขนส่งหลบหลีกเครื่องกั้นต่างๆได้ จากข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายทางอากาศ ระบบการจัดการนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆในช่วงสงคราม
ในปี 1939 ช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐได้สร้างเครื่องบินบังคับเครื่องแรกเรียกว่า Radio Plane OQ2 โดย Norma Jeane หรือที่รู้จักภายหลังว่า Marilyn Monroe มาริลีน มอนโร ได้ทำงานที่โรงงานประกอบเครื่องบินOQ2ในแคลิฟอร์เนียช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปฎิบัติการลาดตระเวนโดยเครื่องบินไร้คนขับค่อยๆมีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามเย็นและช่วงที่มีความขัดแย้งในโลก
ในปี 1973 หลังจากสงคราม Yom Kippur อิสราเอลได้พัฒนาเครื่องต้นแบบของ UAV และหลังจากนั้นไม่นานก็มีเครื่อง IAI Scout โดยทั้งสองรุ่นมีภาระกิจลาดตระเวนตรวจตราน่านฟ้าที่ไม่มีคนขับ ในปี 1986 มีความร่วมมือระหว่างสหรัฐและอิสราเอลในการผลิตเครื่องรุ่น RQ2 Pioneer ซึ่งเป็นเครื่องโดรนขนาดกลาง ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น Abraham Karem ซึ่งเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญซึ่งทำงานให้กับ IAI มาหลายปีได้พัฒนาเครื่องต้นแบบที่เรียกว่า NAS7-50 ในโรงรถของเขานอกเมืองลอสแองเจลลิส นายพล Thomas Bach จาก American Defense ได้พัฒนารูปแบบอีกครั้งในปี 1990 และก่อนหน้าสงครามบอสเนีย 2-3 ปี CIA ได้สั่งซื้อ NAS7-50 2 ลำเป็นมูลค่า 5 ล้านดอลล่าร์ สำหรับภารกิจตรวจตระเวนเหนือบอสเนีย
วันที่ 7 มกราคม ปี 1994 เพนทากอนได้เซ็นสัญญากับบริษัทของนายพล Thomas เพื่อออกแบบ NAS7-50 ใหม่เพื่อทำให้มันใหญ่ขึ้น เงียบขึ้น รวมถึงรูปทรงที่ไดนามิกมากขึ้น 6 เดือนหลังจากนั้น โดรนสังหารรุ่นแรกก็เกิดขึ้น โดรนสังหารนี้บินไปยังอัฟกานิสถานในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2000 เมื่อ CIA สั่งให้บินไปตามล่าสังหาร โอซามา บิน ลาเดน ในตอนนั้นมันถูกติดตั้งด้วยกล้องเฝ้าระวังเท่านั้น ในวันที่ 21 ธันวาคมปี 2009 กองทัพอากาศสหรัฐได้รับอนุมัติจากเพนทากอนให้ติดจรวดมิสไซล์ Helefire ให้กับโดรน และไม่ทันครบปี ก็เกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 ในเมืองนิวยอร์ค
ในทันทีหลังจากเหตุการณ์ 9/11 CIA ก็ได้เริ่มโครงการ Targeted Killing Campaign แคมเปญตั้งเป้าสังหาร โดยได้รับรายชื่อใครก็ตามที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 9/11 จากเพนทากอน มันถูกกฏหมายเพราะว่ามันได้รับสิทธิ์ภายใต้การใช้กำลังทางทหารซึ่งสภาอนุมัติให้ทำได้หลังจากเหตุการณ์ 9/11 และเมื่อผู้นำกลุ่มอัลเคดาห์บินออกจากอัฟกานิสถานมายังปากีสถานและเยเมนซึ่งเป็นดินแดนที่สหรัฐไม่มีอำนาจอธิปไตยเหนือประเทศเหล่านี้ โดรนก็ถูกส่งให้บินมาอย่างเงียบๆและนี่ก็คือจุดที่เรื่องยุ่งเหยิงต่างๆเริ่มขึ้น
บทความ 2-4 ของ UN ให้สิทธิ์คุ้มครองประเทศที่มีรายชื่ออยู่ในสมาชิกสันติภาพ นั่นแปลว่าประเทศเหล่านี้ควรจะปราศจากจากการใช้กำลังทางการทหารในระหว่างการสร้างสันติภาพ อย่างไรก็ดีทีมงานบริหารของโอบามากล่าวว่าการล่าหัวนี้สามารถทำได้เพราะคนเหล่านี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอัลเคดาหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นภัยคุกคามต่อการโจมตีสหรัฐ หรือทรัพย์สินของสหรัฐที่อยู่ประเทศอื่นๆ ในขณะที่ CIA และเพนทากอน ไม่ได้ให้ความเห็นใดๆว่าได้สังหารใครและที่ไหนไปบ้าง แต่สำนักข่าวสืบสวนสอบสวนรายงานว่า CIA ได้ทำการส่งโดรนไปโจมตีในปากีสถานถึง 400 ครั้งนับตั้งแต่ปี 2004 ในขณะที่เพทากอนส่งไปโจมตี 66 - 184 ครั้งในเยเมน และอีก 20 ครั้งในโซมาเลีย
แต่มันเป็นเรื่องจริงหรือ ว่ามีเพียง 20 กว่าครั้งในโซมาเลีย แต่เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างน้อยจึงทำให้ไม่สามารถคาดเดาตัวเลขที่แท้จริงได้
ลองคิดดูว่า ในสมัยก่อน ในการทำสงครามนั้น มันง่ายที่จะระบุตัวตนของศัตรูจากเครื่องแบบหรือกิจกรรมที่ทำ หลังจากเหตุการณ์ 9/11 เป็นต้นมา กลุ่มก่อการร้ายอย่าง อัลเคดา หรือกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งซ่อนตัวไปในหมู่คนปกติ อาศัยอยู่ในชุมชนร่วมกับคนอื่นๆและใช้บ้านเป็นหน่วยบัญชาการ การใช้โดรนแอบส่องดูทำให้บางคนที่อยู่ที่ลาสเวกัสสามารถควบคุมโดรนและเฝ้าดูพื้นที่ต้องสงสัยอย่างเช่น ปากีสถาน เป็นเวลาหลายเดือนได้ ซึ่งเหมือนการงมเข็มในมหาสมุทร
แต่นั่นก็ทำให้สิ่งต่างๆยุ่งยากขึ้นไปอีก เหมือนการโจมตีแบบอื่นๆซึ่งพลเรือนอาจจะถูกโจมตีและโดนลูกหลงได้ มีรายงานว่าพลเมืองผู้บริสุทธิ์ในปากีสถานถูกฆ่าโดยโดรนไปถึง 957 คนนับตั้งแต่ปี 2004 และ 200 คนในนั้นเป็นเด็ก แต่อีกครั้งที่ตัวเลขที่แน่นอนนั้นยากที่จะระบุเจาะจงลงไป
ในวันที่ 30 กันยายนปี 2011 CIA ได้สังหารอันวัร อัลเอาละกีย์ซึ่งเป็นคนสัญชาติสหรัฐในเยเมนซึ่งคาดว่าทำงานให้กับกลุ่มหัวรุนแรงทางทหารของอัลเคดา ในคาบสมุทรอาหรับโดยโจมตีผ่านโดรน นักกฏหมายและสื่อต่างโจมตีหน่วยงานบริหารของโอบามาว่าเป็นการโจมตีประชาชนชาวอเมริกัน แต่กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐแย้งว่าอัลเอาละกีย์ได้ทำงานให้กับกลุ่มก่อการร้ายซึ่งโจมตีสหรัฐมาหลายปี ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างความยุติธรรมและศีลธรรมยังคงเป็นปัญหาที่มีการโต้แย้งกัน
ในปี 2014 Amazon อะเมซอนได้เสนอที่จะใช้โดรนซึ่งมีขนาดเล็กและไม่สลับซับซ้อนเท่ารูปแบบที่ใช้ทางการทหารเพื่อขนส่งสินค้าให้กับลูกค้า หน่วยงานเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ก็ได้เริ่มใช้โดรนในการทำวิดีโอส่งเสริมการขาย และมันก็เกิดกลุ่มที่ผลิตโดรนใช้เองมากมายโดยเป็นเครื่องขนาดเล็กเพื่อความบันเทิง มีหลายๆกลุ่มที่ใช้โดรนเพื่อภารกิจป้องกันการลุกล้ำสัตว์ป่าในแอฟริกา การใช้โดรนเพื่อขนส่งยาก็กำลังอยู่ในขั้นการทดสอบ หรือแม้แต่เฟสบุ๊คก็ใช้โดรนที่ได้รับการติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์และลอยอยู่เหนือพื้นดิน 5 หมื่นฟุตในการส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตไปยังพื้นที่ห่างไกลในโลก
Drone คืออะไรกันแน่ บางคนบอกคุณว่าโดรนคืออุปกรณ์ตรวจตราเพื่อคอยดูแลคนในชาติ บางคนอาจจะบอกว่ามันเป็นอุปกรณ์ส่งของ หรือบางคนอาจจะบอกว่าโดรนเป็นอาวุธที่บินอยู่บนฟ้า กองทัพสหรัฐมีโดรนอยู่ในครอบครองหลายงานการบินสหรัฐคาดว่าจะมีโดรนเชิงพานิชย์กว่า 7500 ตัวภายในสหรัฐเพียงประเทศเดียว
สิบกว่าปีที่ผ่านมา โดรน กลายเป็นอาวุธที่ใช้โจมตีทางอากาศเพื่อกำจัดกลุ่มผู้ก่อการร้ายข้ามชาติซึ่งได้รับการควบคุมจาก โปรแกรมเพื่อสังหารบุคคลอันตรายของ Central Intelligence Agencyหรือ CIA มีรายงานจาก Bureau of Investigative Journalism สำนักข่าวสืบสวนสอบสวนว่า ในช่วงระหว่างปี 2004 ถึงปี 2014 CIA ใช้โดรนกว่า 400 ตัวในการโจมตีในประเทศปากีสถาน สังหารคนไปมากกว่า 3000 คน และนั่นเป็นเพียงจำนวนที่เรารู้เท่านั้น
โดรนเป็นพาหนะทางอากาศที่ไม่ต้องมีคนควบคุมซึ่งทำงานผ่านอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ ลองคิดถึงพาหนะพื้นฐานที่ใช้รีโมตควบคุม แต่มันมีระยะไกลกว่านั้นมาก จุดกำเนิดที่แท้จริงของโดรนนั้นยากที่จะหาเจอ แม้ว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เราจะพบกับการใช้เครื่องบินทางการทหารเป็นครั้งแรก แต่มันก็มีการใช้บอลลูนและว่าวมาก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพสหรัฐมีโครงการที่เรียกว่า Aerial Torpedoes ซึ่งเป็นการใช้เครื่องบินขนาดเล็กซึ่งทำงานเหมือนโดรนคามิคาเซ่ แต่สงครามก็จบลงก่อนที่จะได้ใช้งาน
ในปี 1914 ช่วงต้นเดือนที่มีการรบกันของกองทัพอังกฤษในฝรั่งเศส กองทัพอังกฤษได้ใช้เครื่องบินถ่ายภาพทางอากาศกว่า 1500 ภาพเพื่อเป็นแผนที่ทางอากาศซึ่งแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการขนส่งของกองทัพเยอรมัน สิ่งนี้เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการใช้ภาพถ่ายเพื่อการปฏิบัติการที่ซับซ้อน เป็นครั้งแรกที่ปืนใหญ่ภาคพื้นดินสามารถขนส่งหลบหลีกเครื่องกั้นต่างๆได้ จากข้อมูลที่ได้จากภาพถ่ายทางอากาศ ระบบการจัดการนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆในช่วงสงคราม
ในปี 1939 ช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐได้สร้างเครื่องบินบังคับเครื่องแรกเรียกว่า Radio Plane OQ2 โดย Norma Jeane หรือที่รู้จักภายหลังว่า Marilyn Monroe มาริลีน มอนโร ได้ทำงานที่โรงงานประกอบเครื่องบินOQ2ในแคลิฟอร์เนียช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปฎิบัติการลาดตระเวนโดยเครื่องบินไร้คนขับค่อยๆมีบทบาทสำคัญในช่วงสงครามเย็นและช่วงที่มีความขัดแย้งในโลก
ในปี 1973 หลังจากสงคราม Yom Kippur อิสราเอลได้พัฒนาเครื่องต้นแบบของ UAV และหลังจากนั้นไม่นานก็มีเครื่อง IAI Scout โดยทั้งสองรุ่นมีภาระกิจลาดตระเวนตรวจตราน่านฟ้าที่ไม่มีคนขับ ในปี 1986 มีความร่วมมือระหว่างสหรัฐและอิสราเอลในการผลิตเครื่องรุ่น RQ2 Pioneer ซึ่งเป็นเครื่องโดรนขนาดกลาง ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น Abraham Karem ซึ่งเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญซึ่งทำงานให้กับ IAI มาหลายปีได้พัฒนาเครื่องต้นแบบที่เรียกว่า NAS7-50 ในโรงรถของเขานอกเมืองลอสแองเจลลิส นายพล Thomas Bach จาก American Defense ได้พัฒนารูปแบบอีกครั้งในปี 1990 และก่อนหน้าสงครามบอสเนีย 2-3 ปี CIA ได้สั่งซื้อ NAS7-50 2 ลำเป็นมูลค่า 5 ล้านดอลล่าร์ สำหรับภารกิจตรวจตระเวนเหนือบอสเนีย
วันที่ 7 มกราคม ปี 1994 เพนทากอนได้เซ็นสัญญากับบริษัทของนายพล Thomas เพื่อออกแบบ NAS7-50 ใหม่เพื่อทำให้มันใหญ่ขึ้น เงียบขึ้น รวมถึงรูปทรงที่ไดนามิกมากขึ้น 6 เดือนหลังจากนั้น โดรนสังหารรุ่นแรกก็เกิดขึ้น โดรนสังหารนี้บินไปยังอัฟกานิสถานในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2000 เมื่อ CIA สั่งให้บินไปตามล่าสังหาร โอซามา บิน ลาเดน ในตอนนั้นมันถูกติดตั้งด้วยกล้องเฝ้าระวังเท่านั้น ในวันที่ 21 ธันวาคมปี 2009 กองทัพอากาศสหรัฐได้รับอนุมัติจากเพนทากอนให้ติดจรวดมิสไซล์ Helefire ให้กับโดรน และไม่ทันครบปี ก็เกิดเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 ในเมืองนิวยอร์ค
ในทันทีหลังจากเหตุการณ์ 9/11 CIA ก็ได้เริ่มโครงการ Targeted Killing Campaign แคมเปญตั้งเป้าสังหาร โดยได้รับรายชื่อใครก็ตามที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 9/11 จากเพนทากอน มันถูกกฏหมายเพราะว่ามันได้รับสิทธิ์ภายใต้การใช้กำลังทางทหารซึ่งสภาอนุมัติให้ทำได้หลังจากเหตุการณ์ 9/11 และเมื่อผู้นำกลุ่มอัลเคดาห์บินออกจากอัฟกานิสถานมายังปากีสถานและเยเมนซึ่งเป็นดินแดนที่สหรัฐไม่มีอำนาจอธิปไตยเหนือประเทศเหล่านี้ โดรนก็ถูกส่งให้บินมาอย่างเงียบๆและนี่ก็คือจุดที่เรื่องยุ่งเหยิงต่างๆเริ่มขึ้น
บทความ 2-4 ของ UN ให้สิทธิ์คุ้มครองประเทศที่มีรายชื่ออยู่ในสมาชิกสันติภาพ นั่นแปลว่าประเทศเหล่านี้ควรจะปราศจากจากการใช้กำลังทางการทหารในระหว่างการสร้างสันติภาพ อย่างไรก็ดีทีมงานบริหารของโอบามากล่าวว่าการล่าหัวนี้สามารถทำได้เพราะคนเหล่านี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอัลเคดาหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นภัยคุกคามต่อการโจมตีสหรัฐ หรือทรัพย์สินของสหรัฐที่อยู่ประเทศอื่นๆ ในขณะที่ CIA และเพนทากอน ไม่ได้ให้ความเห็นใดๆว่าได้สังหารใครและที่ไหนไปบ้าง แต่สำนักข่าวสืบสวนสอบสวนรายงานว่า CIA ได้ทำการส่งโดรนไปโจมตีในปากีสถานถึง 400 ครั้งนับตั้งแต่ปี 2004 ในขณะที่เพทากอนส่งไปโจมตี 66 - 184 ครั้งในเยเมน และอีก 20 ครั้งในโซมาเลีย
แต่มันเป็นเรื่องจริงหรือ ว่ามีเพียง 20 กว่าครั้งในโซมาเลีย แต่เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ค่อนข้างน้อยจึงทำให้ไม่สามารถคาดเดาตัวเลขที่แท้จริงได้
ลองคิดดูว่า ในสมัยก่อน ในการทำสงครามนั้น มันง่ายที่จะระบุตัวตนของศัตรูจากเครื่องแบบหรือกิจกรรมที่ทำ หลังจากเหตุการณ์ 9/11 เป็นต้นมา กลุ่มก่อการร้ายอย่าง อัลเคดา หรือกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งซ่อนตัวไปในหมู่คนปกติ อาศัยอยู่ในชุมชนร่วมกับคนอื่นๆและใช้บ้านเป็นหน่วยบัญชาการ การใช้โดรนแอบส่องดูทำให้บางคนที่อยู่ที่ลาสเวกัสสามารถควบคุมโดรนและเฝ้าดูพื้นที่ต้องสงสัยอย่างเช่น ปากีสถาน เป็นเวลาหลายเดือนได้ ซึ่งเหมือนการงมเข็มในมหาสมุทร
แต่นั่นก็ทำให้สิ่งต่างๆยุ่งยากขึ้นไปอีก เหมือนการโจมตีแบบอื่นๆซึ่งพลเรือนอาจจะถูกโจมตีและโดนลูกหลงได้ มีรายงานว่าพลเมืองผู้บริสุทธิ์ในปากีสถานถูกฆ่าโดยโดรนไปถึง 957 คนนับตั้งแต่ปี 2004 และ 200 คนในนั้นเป็นเด็ก แต่อีกครั้งที่ตัวเลขที่แน่นอนนั้นยากที่จะระบุเจาะจงลงไป
ในวันที่ 30 กันยายนปี 2011 CIA ได้สังหารอันวัร อัลเอาละกีย์ซึ่งเป็นคนสัญชาติสหรัฐในเยเมนซึ่งคาดว่าทำงานให้กับกลุ่มหัวรุนแรงทางทหารของอัลเคดา ในคาบสมุทรอาหรับโดยโจมตีผ่านโดรน นักกฏหมายและสื่อต่างโจมตีหน่วยงานบริหารของโอบามาว่าเป็นการโจมตีประชาชนชาวอเมริกัน แต่กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐแย้งว่าอัลเอาละกีย์ได้ทำงานให้กับกลุ่มก่อการร้ายซึ่งโจมตีสหรัฐมาหลายปี ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างความยุติธรรมและศีลธรรมยังคงเป็นปัญหาที่มีการโต้แย้งกัน
ในปี 2014 Amazon อะเมซอนได้เสนอที่จะใช้โดรนซึ่งมีขนาดเล็กและไม่สลับซับซ้อนเท่ารูปแบบที่ใช้ทางการทหารเพื่อขนส่งสินค้าให้กับลูกค้า หน่วยงานเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ก็ได้เริ่มใช้โดรนในการทำวิดีโอส่งเสริมการขาย และมันก็เกิดกลุ่มที่ผลิตโดรนใช้เองมากมายโดยเป็นเครื่องขนาดเล็กเพื่อความบันเทิง มีหลายๆกลุ่มที่ใช้โดรนเพื่อภารกิจป้องกันการลุกล้ำสัตว์ป่าในแอฟริกา การใช้โดรนเพื่อขนส่งยาก็กำลังอยู่ในขั้นการทดสอบ หรือแม้แต่เฟสบุ๊คก็ใช้โดรนที่ได้รับการติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์และลอยอยู่เหนือพื้นดิน 5 หมื่นฟุตในการส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตไปยังพื้นที่ห่างไกลในโลก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น